รูปแบบการเรียนการสอน
แบ่งออกเป็น 3 หมวดใหญ่ๆคือ
1.รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย
2.รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาโดยนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
3.กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
ก่อนนำเสนอรูปแบบและกระบวนการดังกล่าวผู้เขียนขอทำความเข้าใจก่อนว่า รูปแบบบางรูปแบบที่นำเสนอและผู้เขียนเรียกว่ารูปแบบการเรียนการสอนนั้น บุคคลที่พัฒนารูปแบบนั้นขึ้นมาอาจไม่ได้เรียกชื่องานของท่านว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอน บางท่านเรียกว่า “การสอน” “รูปแบบการสอน” “การจัดการเรียนการสอน” “ การสอนแบบ...” ซึ่งโดยความหมายและลักษณะผลงานแล้ว ตรงกับความหมายของ “รูปแบบการเรียนการสอน” ทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอใช้คำว่า รูปแบบการเรียนการสอนทั้งหมด เพื่อความเป็นระบบระเบียบ และทำให้ผู้อ่านไม่เกิดความสับสน
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการนักศึกษาไทย
ผู้เขียนจำนำเสนอ 4 รูปแบบ ดังนี้
1.1 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดย สมุน อมรวิวัฒน์
1.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ
1.3 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย
1.4 รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1.6 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดยสมุน อมรวิวัฒน์
ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
สมุน อมรวิวัฒน์ (2553:168-170) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนี้ขึ้นมาจากแนวคิดที่ว่า การศึกษาที่แท้ควรสัมพันธ์สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต วึ่งต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งมีทั้งทุกข์ สุข ความสมหวังและความผิดหวังต่างๆการศึกษาที่แท้ควรช่วยให้ผู้เรียนรู้ที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆเหล่านั้น และสามารถเอาชนะปัญหาเหล่านั้นได้โดย
1. การเผชิญ ได้แก่การเรียนรู้ที่จะเข้าใจภาวะที่ต้องเผชิญ
2. การผจญ คือ การเรียนรู้วิธีต่อสู้กับปัญหาอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและมีหลักการ
3. การผสมผสาน ได้แก่ การเรียนรู้ที่จะผสมผสานวิธีการต่างๆเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาได้สำเร็จ
4. เผด็จการ คือ การลงมือแก้ปัญหาให้หมดไป โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาสืบเนื่องต่อไปอีก
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการต่างๆจำนวนมาก อาทิ กระบวนการคิด (โยนิโสมนสิการ) กระบวนการเผชิญสถานการณ์ กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการประเมินค่าและตัดสินใจ กระบวนการสื่อสาร ฯลฯ รวมทั้งพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิต
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
กระบวนการดำเนินการมีดังนี้ (สมุน อมรวิวัฒน์,2553:170-171;2542:55-145)
1. ขั้นนำ การสร้างศรัทธา
1.1 ผู้สอนจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสมกับเนื้อหาของบทเรียน และเร้าใจให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของบทเรียน
1.2 ผู้สอนสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน
2. ขั้นสอน
2.1 ผู้สอนหรือผู้เรียนนำเสนอสถานการณ์ปัญหา
2.2 ผู้เรียนฝึกทักษะการแสวงหาและรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ และหลักการต่างๆ
2.3 ผู้เรียนฝึกสรุปประเด็นสำคัญ ฝึกการประเมินค่า เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาว่าทางใดดีที่สุด โดยใช้วิธีคิดหลายๆวิธี(โยนิโสมนสิการ)
2.4 ผู้เรียนฝึกทักษะการเลือกและตัดสินใจ โดยการฝึกการประเมินค่าตามเกณฑ์ที่ถูกต้อง ดีงาม เหมาะสม ฝึกการวิเคราะห์ผลดี ผลเสียที่เกิดขึ้นจากทางเลือกต่าง และฝึกการใช้หลักการ ประสบการณ์ และการทำนายมาใช้ในการเลือกหาทางที่ดีที่สุด
2.5 ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามทางเลือกที่ได้ให้ไว้
3. ขั้นสรุป
3.1 ผู้เรียนแสดงออกด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การพูด เขียน แสดง หรือกระทำในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสมกับความสามารถและวัย
3.2 ผู้เรียนและผู้สอนสรุปบทเรียน
3.3 ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะได้พัฒนาความสามารถในการเผชิญปัญหา และสามารถคิดและตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
1.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการโดย สมุน อมรวิวัฒน์
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
ในปี พ.ศ.2526 สมุน อมรวิวัฒน์ นักการศึกษาไทยผู้มีชื่อเสียงและมีผลงานทางการศึกษากับการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ มาสร้างเป็นหลักการและขั้นตอนการสอนตามแนวพุทธวิธีขึ้น รูปแบบการเรียนการสอนนี้พัฒนาขึ้นจากหลักการที่ว่า ครูเป็นบุคคลสำคัญที่สามารถจัดสภาพแวดล้อม แรงจูงใจ และวิธีการสอนให้ศิษย์เกิดศรัทธาที่จะเรียนรู้ จะสามารถช่วยพัฒนาให้ศิษย์เกิดปัญญาและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม (สมุน อมรวิวัฒน์, 2533:161)
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาความสามารถในการคิด (โยนิโสมนสิการ) การตัดสินใจและการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน
ค.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
1. ขั้นนำ การสร้างเจตคติที่ดีต่อครู วิธีการเรียนและบทเรียน
1.1 จัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสม ได้แก่ เหมาะสมในระดับของชั้นวัยของผู้เรียน วิธีการเรียนการสอนและเนื้อหาของบทเรียน
1.2สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับศิษย์ ครูเป็นกัลยาณมิตร หมายถึง ครูทำตนให้เป็นที่เคารพรักของศิษย์ โดยมีบุคลิกที่ดี สะอาด แจ่มใส และสำรวม มีสุขภาพจิตดี มีความมั่นใจในตนเอง
1.3การเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ
ก. ใช้สื่อการเรียนการสอน หรืออุปกรณ์และวิธีการต่างๆ เพื่อเร้าความสนใจ เช่น การจัดป้ายนิเทศ นิทรรศการ เสนอเอกสารภาพ กรณีปัญหา กรณีตัวอย่าง สถานการณ์จำลอง เป็นต้น
ข.จัดกิจกรรมขั้นนำที่สนุก น่าสนใจ
ค.ศิษย์ได้ตรวจสอบความรู้ ความสามารถของตน และได้รับทราบผลทันที
2. ขั้นสอน
2.1 ครูเสนอปัญหาที่เป็นสาระสำคัญของบทเรียน
2.2 ครูแนะนำแหล่งวิทยาการและแหล่งเรียนรู้
2.3 ครูฝึกการรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้และหลักการ
2.4 ครูจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด ลงมือค้นคว้า คิดวิเคราะห์ และสรุปความคิด
2.5 ครูฝึกการสรุปประเด็นของข้อมูล ความรู้
2.6 ศิษย์ดำเนินการเลือกและตัดสินใจ
2.7 ศิษย์ทำกิจกรรมฝึกปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ผลการเลือก ปละการตัดสินใจ
3. ขั้นสรุป
3.1 ครูและศิษย์รวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติทุกขั้นตอน
3.2 ครูและศิษย์อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้
3.3 ครูและศิษย์สรุปผลการปฏิบัติ
3.4 ครูและศิษย์สรุปบทเรียน
3.5 ครูวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะในการคิด การตัดสินใจ และการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
1.3 รูปแบบการเรียนการสอนการคิดเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2537) ได้พัฒนารายวิชา “การคิดเป็นเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมไทย” ขึ้น เพื่อพัฒนานักเรียนระดับมัธยมศึกษาให้สามารถคิดเป็น รู้จักและเข้าใจตนเอง รายวิชาประกอบด้วยเนื้อหา 3 เรื่อง คือ 1.การพัฒนาความคิด (สติปัญญา) 2. การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม (สัจธรรม) และ 3. การพัฒนาอารมณ์ ความรู้สึก
กิจกรรมที่ใช้เป็นกิจกรรมปฏิบัติการ 4 กิจกรรม ได้แก่ 1. กิจกรรมปฏิบัติการพัฒนากระบวนการคิด 2. กิจกรรมปฏิบัติการพัฒนารากฐานความคิด 3. กิจกรรมปฏิบัติการในชีวิตจริง 4. กิจกรรมปฏิบัติการประเมินผลการพัฒนาประสิทธิภาพของชีวิตและงาน
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งช่วยพัฒนากระบวนการคิด ให้ผู้เรียนสามารถคิดเป็น คือ คิดโดยพิจารณาข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อมและข้อมูลทาววิชาการ เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตในสังคมไทยอย่างมีความสุข
ค.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ขั้นสืบค้นปัญหา เผชิญสถานการณ์ในวิถีการดำรงชีวิต ผู้สอนอาจนำเสนอสถานการณ์ในวิถีการดำรงชีวิต หรืออาจใช้สถานการณ์และปัญหาจริงที่ผู้เรียนประสบมาในชีวิตการดำรงชีวิต
ขั้นที่ 2 ขั้นรวบรวมข้อมูลและผสมผสานข้อมูล 2 ด้าน
เมื่อค้นพบปัญหาแล้ว ให้ผู้เรียนศึกษาข้อมูลความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์นั้น โดยรวบรวมข้อมูลที่ให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านที่เกี่ยวกับตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และด้านหลักวิชาการ
ขั้นที่ 3 ขั้นการตัดสินใจอย่างมีเป้าหมาย
ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหา โดยพิจารณาไตร่ตรองถึงผลที่จะเกิดขึ้นทั้งกับตนเอง ผู้อื่น และสังคมโดยรวม และตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีสุด
ขั้นที่ 4 ขั้นปฏิบัติและตรวจสอบ
เมื่อตัดสินใจเลือกแนวปฏิบัติได้แล้ว ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผลและวางแผนพัฒนา
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2543 ) ได้ทดลองใช้รูปแบบดังกล่าวในการสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาแล้วพบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดเป็น สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ มีความเข้าใจในตนเองและผู้อื่นมากขึ้น เข้าใจระบบความสัมพันธ์ในสังคม และเกิดทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
1.4 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA Model) หรือรูปแบบการประสาน 5 แนวคิดหลักโดย ทิศนา แขมมณี
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
ทิศนา แขมมณี (2542 : 17) รองศาสตราจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นจากประสบการณ์ที่ใช้ได้ในแนวคิดการศึกษาต่างๆ ในการสอนเป็นเวลาประมาณ 30 ปี และพบว่าหลักการเรียนรู้จำนวนหนึ่งสามารถใช้ได้ผลดีตลอดมา หลักดังกล่าว ได้แก่ 1. หลักการสร้างความรู้ 2. หลักกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3. หลักความพร้อมในการเรียนรู้ หลักการเรียนรู้กระบวนการ และ 5. หลักการถ่ายโอนการเรียนรู้ หลักการทั้ง 5 เป็นที่มาของแนวคิด “CIPPA” ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เอให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด โดยการให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง C = construction of knowledge และมีการปฏิสัมพันธ์ I = interaction กับบุคคลอื่นๆและสิ่งแวดล้อมรอบตัวหลายๆด้าน โดยใช้ทักษะกระบวยการ P = process skills จำนวนมากเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ การให้ผู้เรียนมีการเคลื่อนไหวทางกายอย่างเหมาะสม P = physical participation และผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ A = application ซึ่งผู้สอนสามารถนำแนวคิดทั้ง 5 ดังกล่าวไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้มีคุณภาพได้
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริง โดยการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยการร่วมมือจากกลุ่ม
ค.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ซิปปา (CIPPA) เป็นหลักการหรือแนวคิด ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA” นี้สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1การทบทวนความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องจะเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่างๆได้อย่างหลากหลาย
ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ที่หามาได้
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
ขั้นที่ 5 การสรุปจัดระเบียบความรู้ และวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้
ขั้นที่ 6 การปฏิบัติและการแสดงผลงาน
ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียน สามารถอธิบาย ชี้แจง ตอบคำถามได้ดี นอกจากนั้นยังได้พัฒนาในการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นกลุ่ม การสื่อสารรวมทั้งเกิดการใฝ่รู้ด้วย
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาโดยนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
2.1รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการกิจกรรมทางกาย (Physical Knowledge Activity) ในการสร้างมโนทัศน์พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กก่อนประถมศึกษา
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
เตือนใจ ทองสำริด (2531) อาจารย์ประจำสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา ได้ทำการวิจัยเรื่องนี้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต โดยใช้แนวของเดอวรีย์ (Devries) ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนกระทำกิจกรรมทางกาย จะทำให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการทางสติปัญญา
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะสร้างมโนทัศน์พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา ควบคู่ไปกับการส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของเด็กก่อนประถมศึกษา
ค.กระบวนการการเรียนการสอนของรูปแบบ
1.ขั้นสร้างสถานการณ์ปัญหาและแนะนะอุปกรณ์
2.ขั้นสำรวจตรวจค้นและชักจูง
3.ขั้นขยายประสบการณ์
4.ขั้นสรุปและประเมินผล
ง.ผลที่ผู้เรียนรับจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
เตือนใจ ทองสำริด (2530 : 181-183) ได้นำรูปแบบนี้ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 2 กลุ่ม พบว่าคะแนนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนนอกจากนั้นยังพบว่า นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนและสนใจสื่อมาก รูปแบบนี้นอกจากนี้นอกจากจะใช้กับเด็กก่อนวัยเรียนแล้ว ผู้วิจัยได้เสนอแนะว่าสามารถปรับใช้กับเด็กระดับประถมศึกษาตอนต้นได้ดี โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์
2.2รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สาระอิงบริบท (Anchored Instruction) เพื่อส่งเสริมความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษา
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
วิโรจน์ วัฒนานิมิตกูล (2540) ให้ความหมายของคำว่า Anchor ตามลักษณะการใช้งานได้ว่าเป็น
1.จุดรวม
2.ความลึก
3.ความกว้าง
ซึ่งแสดงถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่นำสาระซึ่งมีความซับซ้อนทั้งทางกว้างและลึกและมีมุมมองได้หลายด้านมาเป็นเนื้อหาการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าและสรุปเป็นองค์รวมได้ สามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความต้องการจะศึกษาค้นคว้าหาความรู้นั้นในแง่มุมต่างๆที่ผู้เรียนสนใจ
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
การใช้รูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเนื้อหานั้นๆ อย่างลึกซึ้ง รวมทั้งให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ค.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ผู้สอนมุ่งมุ่งนำเสนอสาระอิงบริบทให้ผู้เรียนพิจารณาประเด็นต่างๆ ในแง่มุมที่ต้องการศึกษาค้นคว้าความรู้ โดยใช้วิธีการที่หลากหลายแล้วนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงสรุปเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับสาระอิงบริบทเดิม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในสาระอิงบริบทนั้นๆยิ่งขึ้น แล้วนำความรู้ที่ได้ทั้งหมดไปใช้ในการพิจารณาประเด็นที่ค้นคว้าต่อไป
ง.ผลที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
วิโรจน์ วัฒนานิมิตกูล (2540 : 151-154) ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน ผลปรากฏว่าหลังการทดลองสอนนักเรียนกลุ่มทดลองได้คะแนนเฉลี่ยด้านทักษะการแสวงหาความรู้ และคะแนนเฉลี่ยด้านเจตคติต่อการแสวงหาความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
2.3รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
ไพจิตร สะดวกการ (2538) ศึกษานิเทศก์ กรมสามัยศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์นี้ขึ้นเป็นวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตเพื่อใช้สอบนักศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยใช้แนวคิดของคอนสตรัคติวิสต์โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.การเรียนรู้คือการสร้างโครงสร้างทางปัญญาที่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา
2.นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีการที่ต่างกัน โดยอาศัยประสบการณ์เดิมโดยโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ ความสนใจและแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น
3.ครูมีหน้าที่จัดให้นักเรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของนักเรียน
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนคณิตศาสตร์ โดยช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเข้าใจ จากการมีโอกาสได้สร้างความรู้ด้วนตนเอง
ค.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นตอนที่ 1 สร้างความขัดแย้งทางปัญญา
ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินกิจกรรมไตร่ตรอง
ขั้นตอนที่ 3 สรุปผลการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบนี้
ผู้เรียนจะมีความเข้าใจมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ที่ตนและกลุ่มเพื่อนได้ร่วมคิดโดยกระบวนการสร้างความรู้และพัฒนาทักษะกระบวนการต่างที่สำคัญทางคณิตศาสตร์
2.4 รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษแบบเน้นกระบวนการ (Process Approach) สำหรับนักศึกษาไทยระดับอุดมศึกษา
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษแบบเน้นกระบวนการนี้ เป็นผลงานวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตของ พิมพันธ์ เวสสะโกศล (2533) อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การเรียนการสอนมุ่งเน้นที่กระบวนการที่ทั้งหลายที่ใช้ในการสร้างงานเขียน การสอนควรเป็นการเสนอแนะวิธีการสร้างและเรียบเรียงความคิดมากกว่าจะเป็นการสอนรูปแบบและโครงสร้างของภาษา
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถเขียนภาษาอังกฤษในระดับข้อความได้ โดยข้อความนั้นสามารถสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และเป็นข้อความที่ถูกต้องทั้งหลักการใช้ภาษาและหลักการเขียน นอกจากนั้นยังสามารถพัฒนาความสามารถในการใช้กระบวนการเขียนในการสร้างงานเขียนที่ดีด้วย
ค.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ขั้นก่อนการเขียน
ขั้นที่ 2 การเรียบเรียงข้อมูล
ขั้นที่ 3 ขั้นปรับปรุงแก้ไข
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนการสอนตามรูปแบบ
กลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบนี้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนภาษาอังกฤษสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนโดยอาจารย์ใช้วิธีสอนแบบเน้นตัวงานเขียนอย่างมีนัยสำคัญและผู้วิจัยได้เสนอแนะให้รูปแบบนี้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนเขียนในระดับอื่นๆด้วย
2.5 รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติสำหรับครูวิชาอาชีพ
ก.ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ (2535) ได้พัฒนารูปแบบนี้ เพื่อการเรียนการสอนวิชาอาชีพสายต่างๆซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นทักษะปฏิบัติโดยอาศัยแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะปฏิบัติ
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่ทำ และเกิดทักษะที่สามารถจะทำงานนั้นได้อย่างชำนาญตามเกณฑ์ รวมทั้งมีเจตคติที่ดีมีลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงานด้วย
ค.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ยุทธวิธีที่ 1 การสอนทฤษฎีก่อนสอนงานปฏิบัติ
ยุทธวิธีที่ 2 การสอนงานปฏิบัติก่อนสอนทฤษฎี
ยุทธวิธีที่ 3 การสอนทฤษฎีและปฏิบัติไปพร้อมๆกัน
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผลการทดลองพบว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านทฤษฎีถึงขั้นความเข้าใจและประสบผลสำเร็จในด้านการพัฒนาทักษะในระดับที่สามารถปฏิบัติงานให้มีคุณภาพได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องการรวมทั้งได้แสดงพฤติกรรมของการมีลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงานด้วย
วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
ความหมายของรูปแบบ (Model)
รูปแบบเป็นรูปธรรมของความคิดที่เป็นนามธรรม ซึ่งบุคคลแสดงออกมาในลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง เช่น เป็นคําอธิบาย เป็นแผนผัง ไดอะแกรม หรือแผนภาพ เพื่อช่วยให้ตนเองและบุคคล อื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น รูปแบบเป็นเครื่องมือทางความคิดที่บุคคลใช้ในการสืบสอบหาคำตอบความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ทั้งหลาย ผู้ศึกษาจะต้องตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบ ซึ่งในกระบวนการวิจัยจะมีการตั้งสมมุติฐานหรือชุดของสมมุติฐานขึ้นมา ซึ่งก็คือคำตอบที่คาดคะเนไว้ล่วงหน้า
รูปแบบโดยทั่วไปจะต้องมีองค์ประกอบที่สําคัญดังนี้
1. รูปแบบจะต้องนําไปสู่การทํานาย (prediction) ผลที่ตามมา ซึ่งสามารถพิสูจน์ ทดสอบได้ กล่าวคือ สามารถนําไปสร้างเครื่องมือเพื่อไปพิสูจน์ทดสอบได้
2. โครงสร้างของรูปแบบจะต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship) ซึ่งสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์เรื่องนั้นได้
3. รูปแบบจะต้องสามารถช่วยสร้างจินตนาการ (imagination) ความคิดรวบยอด (concept) และความสัมพันธ์ (interrelations) รวมทั้งช่วยขยายขอบเขตการสืบเสาะความรู้
4. รูปแบบควรจะประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (structural relationships) มากกว่า ความสัมพันธ์เชิงเชื่อมโยง (associative relationships)
2. รูปแบบเชิงภาษา (Semantic Model) ได้แก่ ความคิดแสดงออกผ่านทางการ (พูดและเขียน) รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทางด้านศึกษาศาสตร์
3 รปแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออก สูตรคณิตศาสตร์ ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นหลังจากได้รูปเชิงภาษาแล้ว
4 รปแบบเชิงแผนผัง (Schernatic Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกผ่านทางแยก แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟ เป็นต้น
5. รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพัน เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรต่างๆ ของสถานการณ์ปัญหาใดๆ รูปแบบด้านศึกษาศาสตร์ มักจะเป็น แบบนี้เป็นส่วนใหญ่
รูปแบบเป็นรูปธรรมของความคิดที่เป็นนามธรรม ซึ่งบุคคลแสดงออกมาในลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง เช่น เป็นคําอธิบาย เป็นแผนผัง ไดอะแกรม หรือแผนภาพ เพื่อช่วยให้ตนเองและบุคคล อื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น รูปแบบเป็นเครื่องมือทางความคิดที่บุคคลใช้ในการสืบสอบหาคำตอบความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ทั้งหลาย ผู้ศึกษาจะต้องตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบ ซึ่งในกระบวนการวิจัยจะมีการตั้งสมมุติฐานหรือชุดของสมมุติฐานขึ้นมา ซึ่งก็คือคำตอบที่คาดคะเนไว้ล่วงหน้า
รูปแบบโดยทั่วไปจะต้องมีองค์ประกอบที่สําคัญดังนี้
1. รูปแบบจะต้องนําไปสู่การทํานาย (prediction) ผลที่ตามมา ซึ่งสามารถพิสูจน์ ทดสอบได้ กล่าวคือ สามารถนําไปสร้างเครื่องมือเพื่อไปพิสูจน์ทดสอบได้
2. โครงสร้างของรูปแบบจะต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship) ซึ่งสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์เรื่องนั้นได้
3. รูปแบบจะต้องสามารถช่วยสร้างจินตนาการ (imagination) ความคิดรวบยอด (concept) และความสัมพันธ์ (interrelations) รวมทั้งช่วยขยายขอบเขตการสืบเสาะความรู้
4. รูปแบบควรจะประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (structural relationships) มากกว่า ความสัมพันธ์เชิงเชื่อมโยง (associative relationships)
รูปแบบ (Model) ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป
มี 4 แบบ หรือ 4 ลักษณะ คือ (Kaplan, 1964 อ้างถึงใน Keeves, 1997 : 386 – 387)
1. รูปแบบเชิงเปรียบ (Analogue Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออก ของการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ อย่างน้อย 2 สิ่งขึ้นไป รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทาง กายภาพ สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์2. รูปแบบเชิงภาษา (Semantic Model) ได้แก่ ความคิดแสดงออกผ่านทางการ (พูดและเขียน) รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทางด้านศึกษาศาสตร์
3 รปแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออก สูตรคณิตศาสตร์ ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นหลังจากได้รูปเชิงภาษาแล้ว
4 รปแบบเชิงแผนผัง (Schernatic Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกผ่านทางแยก แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟ เป็นต้น
5. รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพัน เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรต่างๆ ของสถานการณ์ปัญหาใดๆ รูปแบบด้านศึกษาศาสตร์ มักจะเป็น แบบนี้เป็นส่วนใหญ่
องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน
ก.มีปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อที่เป็นพื้นฐานหรือเป็นหลักของรูปแบบการสอนนั้นๆ
ข.มีการบรรยายและอธิบายสภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักการที่ยึดถือ
ค.มีการจัดระบบ คือ มีการจัดองค์ประกอบ คือ มีการจัดองค์ประกอบและสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบให้สามารถนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของระบบหรือกระบวนการนั้นๆ
ง.มีการอธิบายหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ อันจะช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนนั้นๆ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)