วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เทคนิควิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน

เทคนิควิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน

การเรียนรู้อย่างตื่นตัว (active participation)
       หมายถึง การมีส่วนร่วมที่ผู้เรียนรู้เป็นผู้จัดกระทําต่อสิ่งเร้า (สิ่งที่เรียนรู้) มิใช่เพียงการรับสิ่ง เร้าหรือการมีส่วนร่วมอย่างเป็นผู้รับเท่านั้น การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างแท้จริงได้ดี ควรเป็นการตื่นตัวทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์
การเรียนรู้ที่แท้จริง
       หมายถึง ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ คุณลักษณะ ฯลฯ) จากกระบวนการที่บุคคลรับรู้และจัดกระทําต่อสิ่งเร้าต่างๆ เพื่อสร้างความหมายของสิ่งเร้า (สิ่งที่เรียนรู้) นั้น เชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เดิมของตน จนเกิดเป็นความหมายที่ตนเข้าใจ อย่างแท้จริง และสามารถอธิบายตามความเข้าใจของตนได้
เทคนิคกับวิธีสอน คืออะไร ?
       วิธีสอน หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้สอนดําเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสําคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นๆ (ทิศนา แขมมณี, 2550)
       เทคนิคการสอน หมายถึง กลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมขั้นตอนการสอน กระบวนการสอน วิธีการสอน หรือการกระทําใดๆ ทางการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพมากขึ้น (รู้เร็ว ลึก นาน)
วิธีสอนแบบบทบาทสมมติ (Role Playing)
       วิธีนี้เป็นกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ กําหนดโดยให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง และแสดงออก ตามความรู้สึกนึกคิดของตน และนําเอาการแสดงออกของผู้แสดง ทั้งด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่สังเกตพบมาเป็นข้อมูลในการอภิปราย
วัตถุประสงค์
       วิธีสอนนี้จะมุ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เกิดความเข้าใจในความรู้สึก และพฤติกรรมทั้งของตนเองและผู้อื่น
องค์ประกอบสําคัญ (ขาดไม่ได้)       ผู้สอน ผู้เรียน สถานการณ์สมมติ บทบาทสมมติ การแสดงบทบาทสมมติ การอภิปราย เกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง และสรุปการเรียนรู้ที่ ได้รับ ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นตอนสําคัญ (ขาดไม่ได้)
       1. ผู้สอน ผู้เรียน นําเสนอสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ
       2. ผู้สอน ผู้เรียน เลือกผู้แสดงบทบาท
       3. ผู้สอนเตรียมผู้สังเกตการณ์
       4. ผู้เรียนแสดงบทบาท และสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก
       5. ผู้สอน ผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และ  พฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง
       6. ผู้สอน ผู้เรียนสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
       7. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดี
       1. ช่วยให้เกิดการเรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา
       2. ช่วยให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงเจตคติและพฤติกรรม
       3. ช่วยพัฒนาทักษะการเผชิญสถานการณ์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหา
       4. ช่วยให้การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง
       5. ช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมสนุกในการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย
ข้อจํากัด
       1. ใช้เวลามาก
       2. ต้องอาศัยการเตรียมการและการจัดการที่รัดกุม หากจัดการไม่ดีอาจเกิดความยุ่งยาก สับสนขึ้นได้
       3. ต้องอาศัยความไวในการรับรู้ (sensitivity) ของผู้สอน หากขาดคุณสมบัตินี้ ไม่รับรู้ปัญหา ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนบางคน และไม่ได้แก้ปัญหาแต่ต้น อาจเกิดปัญหาต่อเนื่องได้
       4. ครูต้องมีความสามารถในการแก้ปัญหา กรณีการแสคงไม่เป็นไปตามความคาดหมาย ดังนั้นจะต้องสามารถปรับสถานการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ได้
วิธีสอนโดยกรณีศึกษา (Case Study)
       เป็นวิธีการที่ใช้กรณีหรือเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงมาดัดแปลงและใช้เป็นตัวอย่างในการให้ ผู้เรียนได้ศึกษา วิเคราะห์และอภิปรายเพื่อสร้างความเข้าใจ และฝึกฝนหาทางแก้ปัญหา
วัตถุประสงค์
       วิธีสอนนี้จะมุ่งช่วยให้ได้ฝึกฝนการเผชิญและแก้ปัญหาโดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาจริง เปิดโอกาสให้คิดวิเคราะห์ และเรียนรู้ความคิดผู้อื่น มีมุมมองที่กว้างขึ้น
องค์ประกอบสําคัญ (ขาดไม่ได้)
       ผู้สอน ผู้เรียน มีกรณีเรื่องที่คล้ายกับเหตุการณ์จริง มีประเด็นคําถามให้คิดหาคําตอบ มีคําตอบหลากหลาย ไม่มีคําตอบที่ถูกหรือผิดอย่างชัดเจนแน่นอน มีการอภิปรายสภาพการณ์ ปัญหา มุมมอง วิธีแก้ปัญหาและสรุปการเรียนรู้ มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นตอนสําคัญ (ขาดไม่ได้)
       1.ผู้สอน/ผู้เรียน นําเสนอกรณีตัวอย่าง
       2. ผู้เรียน ศึกษากรณีตัวอย่าง
       3.ผู้เรียนอภิปรายประเด็นคําถามเพื่อหาคําตอบ
       4. ผู้สอน ผู้เรียนอภิปรายคําตอบ
       5. ผู้สอน/ผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาและวิธีแก้ปัญหาของผู้เรียน และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
       6. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดี
       1. ช่วยให้เกิดการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
       2. ช่วยให้ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริงและได้ฝึกแก้ปัญหาโดยไม่ต้อง เสี่ยงกับผลที่จะเกิดขึ้น
       3. ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน                                                                                                             4. ได้ผลดีมากสําหรับผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์หลากหลายสาขา
ข้อจํากัด
       1. หากกลุ่มผู้เรียนมีประสบการณ์คล้ายคลึงกัน ไม่หลากหลาย การเรียนรู้จะแคบ เนื่องจากมี มุมมองใกล้เคียงกัน
       2. แม้ปัญหาและสถานการณ์จะใกล้เคียงกับความเป็นจริง แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆ ความคิด ในการแก้ปัญหาจึงมักเป็นไปตามเหตุผลที่ถูกที่ควร ซึ่งอาจไม่ตรงกับการปฏิบัติได้จริงก็ได้
วิธีสอนโดยใช้เกม (Game)
        เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จัดขึ้น โดยให้ผู้เรียนเล่นเกมภายใต้ข้อตกลงหรือกติกาบางอย่าง และนําเนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่น และผลการเล่นเกมมาใช้อภิปรายเพื่อ สรุปการเรียนรู้
วัตถุประสงค์
       วิธีสอนนี้จะมุ่งช่วยให้ได้เรียนรู้เรื่องที่สอนอย่างสนุกสนานและท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเล่นเอง ทําให้ได้ประสบการณ์ตรง ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง
องค์ประกอบสําคัญ (ขาดไม่ได้)
       ผู้สอน ผู้เรียน มีเกมและกติกาการเล่น มีการเล่นเกมตามกติกา มีการอภิปรายเกี่ยวกับ ผลการเล่น วิธีการเล่น และพฤติกรรมการเล่นของผู้เล่นหลังจากเล่นแล้ว มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นตอนสําคัญ (ขาดไม่ได้)
       1. ผู้สอนนําเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่น
       2. ผู้เรียนเล่นตามกติกา
       3. ผู้สอน ผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่นและวิธีการหรือพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียน
       4. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดี
       1. ช่วยให้เกิดการเรียนรู้โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง ทําให้เกิดการเรียนรู้ที่มี ความหมายและคงทน
       2. ผู้สอนไม่เหนื่อยมาก และผู้เรียนชอบ
       3. ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน สนุก เกิดการเรียนรู้จากการเล่น
ข้อจํากัด        1.ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเกม
       2. ต้องอาศัยการเตรียมการมาก เกมเพื่อการฝึกทักษะ แม้จะไม่ยุ่งยากซับซ้อนนัก แต่ต้อง เตรียมวัสดุ อุปกรณ์การเล่นให้ผู้เรียนจํานวนมาก
       3. ผู้สอนต้องมีทักษะในการนําการอภิปรายที่มีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถช่วยให้ผู้เรียน ประมวลและสรุปการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์
วิธีสอนแบบสถานการณ์จําลอง (Simulation)
       เป็นกระบวนการให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น ที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นั้น โดยใช้ข้อมูลที่มีสภาพ คล้ายข้อมูลในความเป็นจริง ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะส่งผลถึงผู้เล่น ในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
วัตถุประสงค์
       วิธีสอนนี้จะมุ่งช่วยให้ได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริงและเกิดความเข้าใจในสถานการณ์หรือ เรื่องที่มีตัวแปรจํานวนมากที่มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน
องค์ประกอบสําคัญ (ขาดไม่ได้)
       ผู้สอน ผู้เรียน มีสถานการณ์ ข้อมูล บทบาท กติกา ที่สะท้อนความเป็นจริง ผู้เล่นใน สถานการณ์มีปฏิสัมพันธ์กัน หรือมีกับปัจจัยต่างๆ ในสถานการณ์นั้น ผู้เล่นหรือผู้สวมบทบาทมีการ ให้ข้อมูลที่ให้ในการตัดสินใจ การตัดสินใจส่งผลต่อผู้เล่นใน มีการอภิปรายสภาพการณ์ ข้อมูล และกติกาของสถานการณ์ วิธีการเล่น พฤติกรรมการเล่น และผลการเล่นเพื่อการเรียนรู้ มีผลการเรียนรู้ ของผู้เรียน
ขั้นตอนสําคัญ (ขาดไม่ได้)
       1. ผู้สอนเตรียมสถานการณ์จําลอง
       2. ผู้สอนเสนอสถานการณ์จําลอง บทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น
       3. ผู้เรียนเลือกบทบาทที่จะเล่น หรือผู้สอนกําหนดบทบาทให้ผู้เรียน
       4. ผู้เรียนเล่นตามกติกาที่กําหนด
       5. ผู้สอน ผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อมูล และกติกาของสถานการณ์วิธีการ พฤติกรรมการเล่น และผลการเล่น
       6. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดี
       1. ช่วยให้เรียนรู้เรื่องที่มีความสัมพันธ์ซับซ้อนได้ เนื่องจากได้มีประสบการณ์ที่ประจักษ์ ชัดด้วยตนเอง
       2. ช่วยให้ผู้เรียนฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ จํานวนมาก เช่น กระบวนการมีปฏิสัมพันธ์ กระบวนการสื่อสาร กระบวนตัดสินใจ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการคิด
       3. ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน สนุก มีความหมาย
ข้อจํากัด
       1. ค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลามากในการเล่นและการเตรียมการ
       2. เป็นวิธีการที่พึ่งสถานการณ์จําลอง ถ้าไม่มีสถานการณ์จําลองที่ตรงกับจุดประสงค์หรือ ความต้องการ ผู้สอนต้องสร้างขึ้นเองถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างสถานการณ์เพียงพอ ก็จะ ไม่สามารถสร้างได้
       3. การให้ผู้เรียนได้เล่นและแสดงออกอย่างหลากหลายจะเป็นการยากสําหรับผู้สอนในการ นําการอภิปรายให้ไปสู่การเรียนรู้ตามจุดประสงค์
วิธีสอนโดยการทดลอง (Experiment)
       เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้จากการเห็นผลประจักษ์ชัดจากการคิดและ การกระทําของตนเองผู้สอนต้องกําหนดจุดมุ่งหมายและกระบวนการในการทดลองให้ชัดเจน
วัตถุประสงค์
       วิธีสอนนี้จะมุ่งช่วยให้ผู้เรียนรายบุคคลหรือรายกลุ่มเกิดการเรียนรู้ โดยการเห็นผลประจักษ์ จากการคิดและการกระทําของตนเอง ทําให้การเรียนรู้นั้นตรงกับความเป็นจริง มีความหมาย และจําได้นาน
องค์ประกอบสําคัญ (ขาดไม่ได้)
       ผู้สอน ผู้เรียน มีปัญหาและสมมติฐานในการทดลอง มีวัสดุอุปกรณ์สําหรับการทดลอ มีการทดลอง มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการทดลอง
ขั้นตอนสําคัญ (ขาดไม่ได้)
       1. ผู้สอน ผู้เรียน กําหนดปัญหาและสมมติฐานในการทดลอง
       2. ผู้สอนให้ความรู้ที่จําเป็นต่อการทดลอง ให้ขั้นตอน รายละเอียด ในการทดลองแก่ผู้เรียน โดยใช้วิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสม
       3. ผู้เรียนลงมือทดลองโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จําเป็นตามขั้นตอนที่กําหนดและบันทึกข้อมูล การทดลอง
       4. ผู้เรียนวิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง
       5. ผู้สอน ผู้เรียนอภิปรายผลการทดลอง และสรุปการเรียนรู้
       6. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดี
       1. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงผ่านกระบวนการพิสูจน์ ทดสอบ และเห็นผลด้วย ตนเอง จึงเกิดการเรียนรู้ได้ดี เข้าใจ และจดจําได้นาน
       2. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้และพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ จํานวนมาก เช่น ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการแสวงหาความรู้ ทักษะกระบวนการคิด และทักษะ กระบวนการกลุ่ม รวมทั้งได้พัฒนาลักษณะนิสัยใฝ่รู้
       3. ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน
ข้อจํากัด
       1. ค่าใช้จ่ายสูง หากต้องใช้วัสดุอุปกรณ์มาก หรือต้องออกนอกสถานที่
       2. ใช้เวลามาก ผู้สอนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จึงจะสามารถสอนและฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
วิธีสอนโดยใช้การนิรนัย (Deduction)
       เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จัดขึ้น โดยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีหลักการ กฎ และข้อสรุปในเรื่องที่เรียน แล้วจึงให้ตัวอย่างหลายๆ ตัวอย่าง หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกนําทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปนั้นไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่หลากหลาย เพื่อให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง
วัตถุประสงค์
       วิธีสอนนี้จะมุ่งช่วยให้ได้เรียนรู้หลักการและสามารถนําหลักดังกล่าวไปใช้ได้
องค์ประกอบสําคัญ (ขาดไม่ได้)
       ผู้สอน ผู้เรียน มีทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปต่างๆ มีตัวอย่างสถานการณ์ที่หลากหลาย ที่สามารถนําทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปต่างๆ นั้นไปใช้ได้ มีการฝึกนําทฤษฎี หลักการ กฎ หรือ ข้อสรุปต่างๆไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นตอนสําคัญ (ขาดไม่ได้)
       1. ผู้สอนถ่ายทอดทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปต่างๆ ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วย วิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสม
       2. ผู้สอนให้ตัวอย่างสถานการณ์ที่หลากหลาย ที่สามารถนําความรู้ที่ได้เรียนมาไปใช้
       3. ผู้สอนให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัตินําความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปใช้ในสถานการณ์ใหม่
       4. ผู้สอนให้ผู้เรียนวิเคราะห์และอภิปรายการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
       5. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดี
       1. ช่วยให้เกิดการเรียนรู้โดยการถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้อย่างรวดเร็วและไม่ยุ่งยาก
       2. ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝนการนําทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปต่างๆ ไปใช้ใน สถานการณ์ใหม่
       3. ช่วยให้ผู้เรียนที่มีความสามารถหรือเรียนรู้ได้เร็วสามารถพัฒนาได้โดยไม่ต้องรอผู้เรียนรู้ ที่ช้ากว่า
ข้อจํากัด
       1. ผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่าง สถานการณ์ ปัญหา ที่หลากหลายให้ผู้เรียนฝึกทํา
       2. หากผู้เรียนบางคนเรียนรู้ได้ช้า อาจตามไม่ทันเพื่อน เกิดปัญหาตามมา
วิธีสอนโดยใช้การอุปนัย (Induction)
       เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จัดขึ้นโดยการนําตัวอย่างข้อมูลความคิด/เหตุการณ์สถานการณ์ ปรากฏการณ์ ที่มีหลักการ/แนวคิด ที่ต้องการสอนให้แก่ผู้เรียน มาให้ผู้เรียนศึกษาวิเคราะห์ จนสามารถดึงหลักการ/แนวคิดที่แฝงอยู่ออกมา เพื่อนําไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ต่อไป
วัตถุประสงค์
       วิธีสอนนี้จะมุ่งช่วยให้ได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สามารถจับหลักการ หรือประเด็นสําคัญ ได้ด้วยตนเอง ทําให้เกิดการเรียนรู้หลักการแนวคิด หรือข้อความรู้ต่างๆ อย่างเข้าใจ
องค์ประกอบสําคัญ (ขาดไม่ได้)
       ผู้สอน ผู้เรียน มีตัวอย่างข้อมูลสถานการณ์เหตุการณ์ปรากฏการณ์ ความคิด ที่เป็น ลักษณะย่อยๆ ของสิ่งที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ มีการวิเคราะห์ตัวอย่างต่างๆ เพื่อหาหลักการร่วมกัน มีข้อสรุปที่มีลักษณะเป็นหลักการแนวคิด มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นตอนสําคัญ (ขาดไม่ได้)
       1. ผู้สอนหรือผู้เรียนยกตัวอย่างข้อมูลสถานการณ์เหตุการณ์ปรากฏการณ์ ความคิด ที่เป็น ลักษณะย่อยของสิ่งที่จะเรียนรู้
       2. ผู้เรียนศึกษาและวิเคราะห์หาหลักการที่แฝงอยู่ในตัวอย่างนั้น
       3. ผู้เรียนสรุปหลักการแนวคิด ที่ได้จากตัวอย่างนั้น
       4. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดี
       1. ช่วยให้เกิดการเรียนรู้โดยการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ทําให้เข้าใจและจดจําได้ดี
       2. ได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
       3. เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านเนื้อหาสาระและทักษะกระบวนการ
ข้อจํากัด
       1. ใช้เวลามาก
       2. ต้องใช้ตัวอย่างที่ดี
ยังมีวิธีสอนที่น่าสนใจอีกเยอะ 


  • การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) STAD, TGT, Gl, NHT, CIRT, ฯลฯ 
  • การจัดการเรียนรู้แบบอภิปรายกลุ่ม 
  • การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT 
  • การจัดการเรียนรู้แบบ KWL, KWL Plus, KWLH, KWDL
  • การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค PBL
  • การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคต (FPS)
เทคนิคการใช้คําถาม
      คําสั่ง : จงตั้งคําถามจากเรื่องเล่าต่อไปนี้ให้ได้มากที่สุด
      “เด็กหญิงแพรไหมกําลังเก็บผักบุ้งอยู่ที่แปลงผักของโรงเรียนอย่างตั้งอกตั้งใจตั้งแต่เช้า เนื่องจากคนครัวของโรงอาหารได้สั่งซื้อผักบุ้งจํานวน 10 กิโลกรัมเพื่อนํามาทําเป็นอาหารกลางวัน ให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียน”
      การใช้คําถามเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คือ ต้องมีการศึกษาลักษณะของคําถาม และครูต้องใช้ศิลปะในการถามซึ่งเป็นสิ่งจําเป็นเพราะฉะนั้นครูต้องมีการฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะในการใช้คําถามสามารถดึงดูดความสนใจ ต้องอาศัยประสบการณ์ในการใช้ 
ใคร? อะไร? ที่ไหน? อย่างไร? เมื่อใด? ทําไม? เท่าใด? 
ประโยชน์ของคําถาม
       1. เสริมสร้างความสามารถในการคิดให้แก่ผู้เรียน
       2. เพื่อเร้าความสนใจใช้ในการนําเข้าสู่บทเรียน
       3. คําถามที่ดีจะทําให้มีการอภิปรายต่อเนื่องกันไป
       4. ขยายความคิด
       5. ทําให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
       6. ใช้เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
       7. ก่อให้เกิดการค้นคว้าและสํารวจหาความรู้ใหม่
       8. ใช้ทบทวนหรือสรุปเรื่องราวที่สอน
       9. ใช้วัดความเข้าใจ ความสามารถของผู้เรียน และใช้วัดการสอนของผู้สอนด้วย
ลักษณะคําถามที่ดี
  • มีความชัดเจนผู้เรียนรู้ว่าต้องการถามอะไร
  • เข้าใจง่าย ภาษาพูดเข้าใจง่าย
  • มีความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์การเรียน การสอน สัมพันธ์กับเรื่องราว เนื้อหา กิจกรรม
เทคนิคการใช้คําถาม
  •  ถามด้วยความมั่นใจ
  •  ความกลมกลืนในการถาม
  •  ถามให้เป็นภาษาพูดง่ายๆ
  •  เว้นระยะให้คิด อย่าเร่งรัดคําตอบจากผู้เรียนมากเกินไป
  •  ให้ผู้เรียนมีโอกาสตอบได้หลายคน
เทคนิคการใช้ผังกราฟิก
  1. ผังความคิด (A Mind Map) 
  2. ยังมโนทัศน์ (A Concept map) 
  3. ผังแมงมุม (A Spider Map) 
  4. ผังก้างปลา (A fish borne Map)
  1.ผังความคิด (A Mind Map) 
        เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของสาระหรือความคิดต่างๆให้เห็นในภาพรวม โดยใช้เส้น คํา ระยะห่างจากจุดศูนย์กลาง สี เครื่องหมาย รูปทรงเรขาคณิต และภาพ แสดงความหมาย และความเชื่อมโยงของความคิดหรือสาระนั้นๆ มีขั้นตอนหลักๆ ในการทําดังนี้
       1.1 เขียนความคิดรวบยอดหลักไว้ตรงกลาง แล้วแตกสาขาออกไปเป็นความคิดรวบยอดย่อยๆ
       1.2 เขียนคําที่เป็นตัวแทนความหมายของความคิดนั้นๆลงไป และใช้รูปทรงเรขาคณิตแสดง ระดับของคํา คําใดอยู่ในขอบเขตหรือระดับเดียวกัน ใช้รูปทรงเรขาคณิตเดียวกันล้อมกรอบคํานั้น
       1.3 ลากเส้นเชื่อมโยงความคิดเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของความคิดต่างๆ อาจเป็นเส้นตรง โค้ง ลูกศร เส้นประ
       1.4 ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นตัวแทนความหมายของ ความคิดและความรู้สึกต่างๆ
       1.5 สร้างผังความคิดให้สมบูรณ์ ตามความเข้าใจของตน





2. ผังมโนทัศน์ (A Concept map)
       เป็นการแสดงมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดใหญ่ไว้ตรงกลาง และแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างมโนทัศน์ใหญ่และย่อยตามลําดับขั้น ด้วยเส้นเชื่อมโยง



3.ผังแมงมุม (A Spider Map)
       เป็นการแสดงมโนทัศน์อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายใยแมงมุม


4. ผังก้างปลา (A fish borne Map)
       เป็นผังที่แสดงสาเหตุของปัญหาซึ่งมีความซับซ้อน ช่วยทําให้เห็นสาเหตุหลักและสาเหตุ ย่อยที่ชัดเจน

เทคนิคตระกูล K
  1. KWL
  2. KWLplus
  3. KWLH
  4. KWDL
   1.KWL
       Know (รู้อะไรบ้าง)
       Want to know (ต้องการรู้อะไร)
       Learned (เกิดการเรียนรู้อะไร)

ขั้นตอนการเรียนรู้ KWL
       1. เลือกบทอ่านที่น่าสนใจหรือบทอ่านที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
       2. ทําตาราง KWL ให้กับผู้เรียน
       3. ถามผู้เรียนว่ารู้อะไรบ้าง
       4. ถามผู้เรียนว่าต้องการรู้อะไรจากเรื่องที่อ่าน (W) แล้วบันทึก
       5. ให้นักเรียนอ่านบทอ่านแล้วบันทึกว่ารู้อะไรบ้าง (L) หลังการอ่าน
จุดเด่นของการจัดการเรียนรู้ KWL
       1. นํามาใช้เพื่อพัฒนาการอ่านได้ทุกระดับ ทุกรายวิชา
       2. นํามาใช้พัฒนาความสามารถในการคิดหรือพัฒนาทักษะการคิดได้
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ KWL เรื่อง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ํา



2.KWL plus
       plus = ทําแผนผังมโนทัศน์
       Know (รู้อะไรบ้าง)
       What do we want to learn (ต้องการรู้อะไร)
       What did we Learned (เกิดการเรียนรู้อะไร)

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ KWL plus        1. เลือกบทอ่านที่น่าสนใจหรือบทอ่านที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
       2. ทําตาราง KWL plus ให้กับผู้เรียน
       3. ถามผู้เรียนว่ารู้อะไรบ้าง (K) จากเรื่องที่กําหนดให้ แล้วบันทึก
       4. ถามผู้เรียนว่าต้องการรู้อะไรจากเรื่องที่อ่าน (W) แล้วบันทึก
       5. ให้นักเรียนอ่านบทอ่านแล้วบันทึกว่ารู้อะไรบ้าง (L)หลังการอ่าน
       6. ทําแผนผังมโนทัศน์ (Mind Mapping หรือ Concept Mapping)
จุดเด่นของการจัดการเรียนรู้ KWL plus
       1. นํามาใช้เพื่อพัฒนาการอ่านได้ทุกระดับ ทุกรายวิชา
       2. นํามาใช้พัฒนาความสามารถในการคิดหรือพัฒนาทักษะการคิดได้
       3. นํามาใช้พัฒนาการลําดับขั้นตอนการคิดแบบรวบยอดของผู้เรียนได้
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ KWL plus


3.KWDL
       What to know (รู้อะไรบ้าง)
       What we want to know (ต้องการรู้อะไร)
       What we do (มีวิธีหาคำตอบอย่างไร)
       What we Learned (เกิดการเรียนรู้อะไร)

ขั้นตอนการจัดการเรีนรู้ KWDL
       1. เลือกบทอ่านที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้หรือโจทย์ปัญหาคณิตาศาสตร์ที่ต้องทำ
       2. ทำตาราง KWDL ให้กับผู้เรียน
       3. ถามผู้เรยนว่ารู้อะไรบ้าง (K) จากเรื่องที่กไหนดหรือโจทย์ฯแล้วบันทึก
       4. ถามผู้เรียนว่าต้องการรู้อะไรจากเรื่องหรือโจทย์ต้องการรู้อะไร (W) แล้วบันทึก
       5. ให้ผู้เรียนบอกวิธีดำเนินการเพื่อหาคำตอบ (D) จากสิ่งที่ต้องการรู้หรือโจทย์ทใน W
       6. ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วอ่านบันทึกว่ารู้อะไรบ้าง (L)หรือคำตอบคืออะไร
จุดเด่นของการจัดการเรียนรู้ KWDL
       1. นำมาใช้เพื่อพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
       2. นำมาใช้พัฒนาความสามารถในการคิดหรือพัฒนาทักษะการคิดได้
       3. นำมาใช้พัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะกระบวนการ
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ KWDL



4.KWLH
       Know (รู้อะไรบ้าง)
       What to learn (ต้องการรู้อะไร)
       What they learn as they read (รู้อะไรบ้างจากการเรียน)
       How we can Learned more (จะหาความรู้เพิ่มเติมโดยวิธีใด)

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ KWLH
       1. กําหนดคําหรือเรื่องที่ต้องการจัดการเรียนรู้
       2. ทําตาราง KWLH ให้กับผู้เรียน
       3. ถามผู้เรียนว่ารู้อะไรบ้าง (K) จากคําหรือเรื่องที่กําหนดให้ แล้วบันทึก
       4. ถามผู้เรียนว่าต้องการรู้อะไรจากคําหรือเรื่องที่กําหนดให้ (W) แล้วบันทึก
       5. ให้ผู้เรียนอ่านเรื่องราวจากคําหรือเรื่องที่กําหนดให้แล้วบันทึกว่ารู้อะไรบ้างหลังการอ่าน(L)
       6. ให้นักเรียนระบุว่าจะหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยวิธีใด (H)
จุดเด่นของการจัดการเรียนรู้ KWLH
       1. นํามาใช้จัดการเรียนรู้ได้ทุกกลุ่มสาระ
       2. นํามาใช้พัฒนาความสามารถในการคิดหรือพัฒนาทักษะการคิดได้
       3. นํามาใช้พัฒนาทักษะการอ่านได้
       4. นํามาใช้ในการให้ผู้เรียนรู้จักวางแผนค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ KWLH



เทคนิคการสอนการคิดสร้างสรรค์โดยใช้ภาพแบบ PWIM (Picture Word Inductive Model)
       ลักษณะสําคัญ คือ ใช้รูปภาพที่สอดคล้องกับสาระวัตถุประสงค์ และวัยของผู้เรียนเป็นสื่อที่ นําไปสู่ การรู้คําศัพท์ วลี ประโยค ข้อความ จนถึงการอ่านและการเขียนที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยมีการฝึก ซ้ําๆ เป็นปริมาณมากๆ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอด และหลักการด้วยตนเอง ด้วยวิธีคิดแบบอุปนัย และที่สําคัญเป็นการเรียนรู้ที่เริ่มจากตัวผู้เรียน
วิธีดําเนินการ
       1. เริ่มต้นด้วยการใช้รูปภาพที่ประกอบด้วยวัตถุ สิ่งของ ฉาก เหตุการณ์ สถานการณ์ (ที่นักเรียนรู้จักคุ้นเคย) ให้นักเรียนสังเกต ช่วยกันระบุคําต่างๆ เหตุการณ์ การปฏิบัติที่ปรากฏ ในรูปภาพ (Words and Actions)
       2. ครูโยงภาพกับคําศัพท์ หรือคําที่นักเรียนเสนอ นักเรียนพูดออกเสียงและสะกดคําที่ได้ จากภาพ โดนครูคอยแนะนําแก้ไขให้ออกเสียงให้ถูกต้อง
       3. นักเรียนช่วยกันจัดกลุ่มคํา หรือจัดประเภทคํา หรือคําศัพท์ที่ระบุจากภาพ (ความคิด รวบยอด มีการจําแนก จัดกลุ่ม ขึ้นอยู่กับวัยและระดับประสบการณ์ของนักเรียน)
       4. นักเรียนฝึกเขียนวลี แต่งประโยคจากคําศัพท์ต่างๆ
       5. นักเรียนฝึกเขียนข้อความ ย่อหน้า และเขียนเรื่องจากภาพ ใช้การฝึกอย่างน้อย 20 ครั้ง/เรื่อง)

อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น