วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

เทคนิค/วิธีการสอน
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
บทบาทผู้เรียน
1. กระบวนการสืบค้น (Inquiry  process)
-  การศึกษาค้นคว้า
-  การเรียนรู้กระบวนการ
-  การตัดสินใจ
-  ความคิดสร้างสรรค์ 
ศึกษาค้นคว้าเพื่อสืบค้นข้อความรู้ด้วยตนเอง
 2. การเรียนรู้แบบค้นพบ(Discovery  Learning)
-  การสังเกต  การสืบค้น
-  การใช้เหตุผล  การอ้างอิง
-  การสร้างสมมุติฐาน 
 -  ศึกษาค้นพบข้อความรู้  และขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตนเอง 
 3. การเรียนแบบแก้ปัญหา(Problem-solving)
-  การศึกษาแบบค้นคว้า
-  การวิเคราะห์  สังเคราะห์ ประเมินค่าข้อมูล
-  การลงข้อสรุป
-  การแก้ปัญหา
 -  ศึกษาแก้ปัญหาอย่างเป็นกระบวนการ และฝึกทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยตนเอง 
 4. การเรียนแบบสร้างแผนผังความคิด(Concept Mapping)
-  การคิด
-  การจัดระบบความคิด 
 -  จัดระบบความคิดของตนให้ชัดเจน เห็นความสัมพันธ์ 
5.การตั้งคำถาม(Questioning) 
-  กระบวนการคิด
-  การตีความ
-  การไตร่ตรอง
 -  เรียนรู้จากการคิดเพื่อสร้างข้อคำถาม  และคำตอบด้วยตนเอง 
6.การศึกษาเป็นรายบุคคล(Individual Study)
-  การศึกษาค้นคว้าความรู้
-  การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
-  ความรับผิดชอบ
-  การตอบคำถาม
 -  เรียนรู้อย่างเป็นอิสระด้วยตนเอง
7.การจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี(Technology-Related Instruction)
-  การแก้ปัญหา
-  การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
-  การเรียนรู้ที่ต้องการผลการเรียน  รู้ทันที
-  การเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอน
-  บทเรียนสำเร็จรูป
-  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
-  e-learning
 -  เรียนรู้ด้วยตนเองตามระดับความรู้ความสามารถของตนมีการแก้ไขฝึกซ้ำเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ  และความเชี่ยวชาญ
8.การอภิปรายกลุ่มใหญ่(Whole-Class Discussion)
-  การแสดงความคิดเห็น
-  การวิเคราะห์
-  การตีความ
-  การสื่อความหมาย
-  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
-  การสรุปความ
 -  มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น  มีบทบาทมีส่วนร่วมในการสร้างข้อความรู้
9. การอภิปรายกลุ่มย่อย(Small-Group Discussion)
-  กระบวนการกลุ่ม
-  การวางแผน
-  การแก้ปัญหา
-  การตัดสินใจ
-  ความคิดระดับสูง
-  ความคิดสร้างสรรค์
-  การแก้ไขข้อขัดแย้ง
-  การสื่อสาร
-  การประเมินผลงาน
-  การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
 -  รับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกกลุ่มทั้งในบทบาทการทำงาน  และบทบาทเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม  ในการสร้างข้อความรู้สึกหรือผลงานกลุ่ม
9.1 เทคนิคคู่คิด(Think Pair Share)
-  การค้นคว้าหาคำตอบ
-  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
 -  รับผิดชอบการเรียนร่วมกับเพื่อน
9.2 เทคนิคการระดมพลังสมอง(Brainstorming)
-  การมีส่วนร่วม
-  การแสดงความคิดเห็น
-  ความคิดสร้างสรรค์
-  การแก้ปัญหา
 -  แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายในเวลาอันรวดเร็ว
9.3 เทคนิค Buzzing
-  การค้นคว้าหาคำตอบด้วยเวลาจำกัด
 -  แสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
9.4 การอภิปรายแบบกลุ่มต่างๆ(Panel, Forum Symposium Seminar)
-  การสื่อสาร
-  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-  การสรุปข้อความ
 -  รับฟังข้อมูลความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
9.5 กลุ่มติว
-  การฝึกซ้ำ
-  การสื่อสาร
 -  ทบทวนจากกลุ่ม  หรือเรียนเพิ่มเติม
10. การฝึกปฏิบัติการ
-  การค้นคว้าหาความรู้
-  การรวบรวมข้อมูล
-  การแก้ปัญหา
 -  ศึกษาค้นคว้าข้อความรู้ในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการ
11. เกม(Games)
-  การคิดวิเคราะห์
-  การตัดสินใจ
-  การแก้ปัญหา
 -  ได้เล่นเกมด้วยตนเองภายใต้กฎ  หรือกติกาที่กำหนดได้คิดวิเคราะห์พฤติกรรม  และเกิดความสนุกสนานในการเรียน
12. กรณีศึกษา(Case  Studies)
-  การค้นคว้าหาความรู้
-  การอภิปราย
-  การวิเคราะห์
-  การแก้ปัญหา
 -  ได้ฝึกคิดวิเคราะห์อภิปรายเพื่อสร้างความเข้าใจแล้วตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ปัญหา
13. สถานการณ์จำลอง(Simulation)
-  การแสดงความคิดเห็น
-  ความรู้สึก
-  การคิดวิเคราะห์
 -  ได้ทดลองแสดงพฤติกรรมต่างๆ  ในสถานการณ์ที่จำลองใกล้เคียงสถานการณ์จริง
14. ละคร(Dramatization)
-  ความรับผิดชอบในบทบาท
-  การทำงานร่วมกัน
-  การวิเคราะห์
 -  ได้ทดลองแสดงบทบาทตามที่กำหนดเกิดประสบการณ์เข้าใจความรู้สึก  เหตุผล  และพฤติกรรมผู้อื่น
15. บทบาทสมมุติ
-  มนุษย์สัมพันธ์
-  การแก้ปัญหา
-  การวิเคราะห์
 -   ได้ทดลองสวมบทบาทต่างๆ  และศึกษาวิเคราะห์ความรู้สึก  และพฤติกรรมตน
16. การเรียนแบบร่วมมือ(Cooperative Learning)  ประกอบด้วยเทคนิค  JIGSAW, JIGSAW II, TGT, STAD, LT, GI, NHT, Co-op
-  กระบวนการกลุ่ม
-  การสื่อสาร
-  ความรับผิดชอบร่วมกัน
-  ทักษะทางสังคม
-  การแก้ปัญหา
-  การคิดแบบหลากหลาย
-  การสร้างบรรยากาศทำงานร่วมกัน
 -   ได้เรียนรู้บทบาทสมาชิกกลุ่มมีบทบาทหน้าที่  รู้จักการไว้วางใจให้เกียรติ  และรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิกกลุ่ม  และรับผิดชอบการเรียนรู้ของตน  และเพื่อนๆในกลุ่ม
17. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม(Participatory Learning)
-  การนำเสนอความคิดเห็นประสบการณ์
-  การสื่อสาร  และปฏิสัมพันธ์
-  กระบวนการกลุ่ม
 -   มีส่วนร่วมในการอภิปรายแสดงความคิดเห็น  หรือปฏิบัติจนได้ข้อสรุป
18. การเรียนการสอนแบบบูรณาการ แบบ Shoreline Method
-  การค้นคว้าหาความรู้
-  การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
-  ทักษะทางสังคม
-  กระบวนการกลุ่ม
-  การสื่อสาร
-  การแก้ปัญหา
 -  มีส่วนร่วมในการเรียนทั้งด้านร่างกาย  จิตใจ  และการคิดดำเนินการเรียนด้วยตนเองทั้งในห้องเรียน  และสถานการณ์จริง  ศึกษาปฏิบัติด้วยตนเองทุกเรื่อง  ร่วมแรงร่วมใจด้วยความเต็มใจ
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น