การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา (กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถและความถนัดเน้นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ ใช้หลากหลายวิธีการสอน หลากหลายแหล่งความรู้ สามารถพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลาย คือ พหุปัญญา รวมทั้งการวัดผลอย่างหลากหลายวิธี (พิมพันธ์ เดชะคุปต์,2550)
หลักการพื้นฐานของแนวคิดที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้ อันได้แก่ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่แตกต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือ ผู้สอน
องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู็เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2545 มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โโยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนรู้และด้านการเรียนรู็ของผู็เรียน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.) การบริหารจัดการ
เป็นองค์ประกอบที่สนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญ โดยเฉพาะการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย การดำเนินงานในทุกองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือ คุณภาพของผู้เรียนตามวิสัยทัศน์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ดังนั้นตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงการพัฒนาทั้งระบบของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย
1. การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่มีจุดเน้นด้านคุณภาพบัณฑิตอย่างชัดเจน
2. การกำหนดแผนยุทธศาสตร์สอดคล้องกับเป้าหมาย
3. การกำหนดแผนการดำเนินงานในทุกองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยสอดคล้องกับเป้าหมายเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์
4. การจัดระบบให้มีประกันคุณภาพภายใน
5. การจัดทำรายงานประจำปีเพื่อรายงานผู็เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับแนวทางการประกันคุณภาพจากภายนอก
2.) การจัดการเรียนรู้
องค์ประกอบหลักที่แสดงถึงการเรียนรู็อย่างเป็นรูปธรรมประกอบด้วยความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการเรียนรู้ บทบาทของผู็สอนและบทบาทของผู้เรียน ดังสาระที่ทิศนา แขมมณี (2547) ได้กล่าวไว้ดังนี้
1. การเรียนรู้เป็นงานเฉพาะบุคคล ทำแทนกันไม่ได้
2. การเรียนรู้เป็ฯกระบวนการทางสติปัญญาที่ต้องมีการใช้กระบวนการคิด สร้างความเข้าใจ ความหมายของสิ่งต่างๆ
3. การเรียนรู้เป็ฯกระบวนการทางสังคม เพราะในเรื่องเดียวกันอาจคิดได้หลายแง่หลายมุม ทำให้เกิดการขยาย เติมเต็มข้อความรู็ ตรวจสอบความถูกต้องของการเรียนรู็ตามที่สังคมยอมรับด้วย
4. การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน เป็นความรู้สึกที่เบิกบานเพราะหลุดพ้นจากความไม่รู้ นำไปสู่ความใฝ่รู้
5. การเรียนรู็เป็นงานต่อเนื่องตลอดชีวิต ขยายพรมแดนความรู้ได้ไม่มีที่สิ้นสุด
6. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงเพราะได้รู้มากขึ้น ทำให้เกิดการนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ
ผู้สอนจึงต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
2. การเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
4. การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ ไม่ทำให้ผู้เรียนรู็สึกเบื่อหน่าย
5. ความเมตตากรุณาของผู้เรียน
6. การท้าทายให้ผู้เรียนอยากรู้
7. การตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
8. การสร้างบรรยากาศหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
9. การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้
10. การมีจุดมุ่งหมายของการสอน
11. ความเข้าใจผู้เรียน
12. ภูมิหลังของผู้เรียน
13. การไม่ยึดวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น
14. การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (Dynamic) กล่าวคือมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
15. การสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
16. การวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
3.)การเรียนรู้ของผู้เรียน
ลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนประกอบด้วย
1. การเรียนรู้อย่างมีความสุข
2. การเรียนรู้จากการได้คิดและลงมือปฏิบัติจริง
3. การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู็ที่หลากหลาย
4. การเรียนรู้แบบองค์รวมหรือแบบบูรณาาร
5. การเรียนรุ้ด้วยกระบวนการของตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น