วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา
การสอนแบบโครงงาน
เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาความสามารถความถนัดและความสนใจของตนเองในด้านต่างๆมาจากแนวคิดพื้นฐานของการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการเรียนรู้ตามสภาพจริงโดยมีการศึกษาหลักการและวิธีเกี่ยว กลับโครงงานที่เลือกศึกษาวิเคราะห์วางแผนการทำงานลงมือทำงานและปรับปรุงเพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ในกระบวนการเรียนการสอนได้ใช้ทักษะกระบวนการสอดแทรกคุณธรรมทำงานเป็นกลุ่มฝึกปฏิบัติจริงเน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมมีครูเป็นผู้ชี้แนะให้คำปรึกษาตลอดเวลาเน้นฝึกคนให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
วิธีการสอนแบบ 4 MAT
วิธีการสอนแบบ 4 MAT
เป็นนวัตกรรมการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดในเรื่องความแตกต่างระหว่าง บุคคลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญารวมทั้งมีความสุขแนวคิดนี้มาจากเบอร์นิส แมสคาร์ที ซึ่งได้นำผลการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนและผลการศึกษาด้านพัฒนาสมองสองซี่ได้แก่ความสามารถของสมองซีกขวาคือการสังเคราะห์การคิดสร้างสรรค์การใช้สามัญสำนึกการคิดแบบหลากหลายและความสามารถของสมองซีกซ้ายคือการคิดวิเคราะห์การคิดหาเหตุผลการคิดแบบปรนัยการคิดแบบมีทิศทางตอบสนองการพัฒนาศักยภาพทุกด้านของผู้เรียนที่มีรูปแบบและลักษณะเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
วิธีการสอนแบบร่วมมือ
วิธีการสอนแบบร่วมมือ
สเปนเซอร์ คาเกน นักศึกษาชาวสหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 และได้เผยแพร่ผลงานอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศในแถบเอเชียโดยมีการนำมาใช้ในการเรียนการสอนต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์และได้นำเสนอแนวคิดหลักที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างมีประสิทธิผล
วิธีสอนแบบบูรณาการ
วิธีสอนแบบบูรณาการ
เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่และเป็นประสบการณ์ตรงที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในวิชาการหลายๆ แขนง ในลักษณะสห วิทยาการโดยใช้กระบวนการเรียนรู้กระบวนการคิดกระบวนการแก้ปัญหาและกระบวนการแสวงหาความรู้ที่เชื่อมโยงทั้งหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ตลอดจนแนวคิดของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความรู้แบบองค์รวมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
วิธีสอนแบบเล่าเรื่อง
วิธีสอนแบบเล่าเรื่อง
เป็นวิธีสอนวิธีหนึ่งที่จัดเนื้อหาสาระของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้มาบูรณาการกันโดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้ใดกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งเป็นแกนหลักส่วนมากจะยึดเนื้อหาสาระสังคมศึกษาหรือวิทยาศาสตร์หรือสุขศึกษาเป็นแก่นเรื่องแล้วนำกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆในหลักสูตรมาบูรณาการทั้งภาษาไทยศิลปะคณิตศาสการจัดการเรียนรู้แบบนี้จะเป็นการสมมุติเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้สดของกันเนื้อหาสาระที่จะเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
วิธีการสอนแบบปุจฉาวิสัชนา
เป็นการเรียนรู้แบบถามตอบเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิดและรู้จักหาคำตอบด้วยตนเองการตั้งคำถามผู้ตั้งคำถามจะต้องใช้ความคิดในการตั้งคำถามขณะเดียวกันผู้ตั้งคำถามจะต้องให้คำตอบอยู่ในใจการสอนแบบนี้ในการจัดการเรียนรู้จึงส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์วิจารณ์และผู้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาในการสื่อสารวิธีการสอนแบบนี้ปุจฉาวิสัชนา จะใช้ในการเรียนรู้ได้ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
วิธีการสอนแบบโครงสร้างความรู้หรือแผนผังความคิด
วิธีการสอนแบบโครงสร้างความรู้หรือแผนผังความคิด
เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลหรือความรู้จากการศึกษาค้นคว้าการอ่านการฟังคำบรรยายแล้วนำข้อมูลมาจัดกลุ่มเขียนเป็นภาพแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างความคิดกระบวนการคิดและความสัมพันธ์ของกระบวนการโดยใช้รูปภาพ
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้ (Constructivism)
แนวคิด Constructivism เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรู้ของมนุษย์ มีความหมายทั้งในเชิงจิตวิทยาและเชิงสังคมวิทยา ทฤษฎีด้านจิตวิทยา เริ่มต้นจาก Jean Piaget ซึ่งเสนอว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการส่วนบุคคลมีความเป็นอัตนัย Vygotsky ได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่า เกิดจากการสื่อสารทางภาษากับบุคคลอื่น สำหรับด้านสังคมวิทยาEmile Durkheim และคณะ เชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลต่อการเสริมสร้างความรู้ใหม่
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนว Constructivism จัดเป็นทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (cognitive psychology) มีรากฐานมาจากผลงานของ Ausubel และ Piaget
2. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral)
เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า (Stimulus-คือสิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรม) และการตอบสนอง (Response - ตัวพฤติกรรม) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือ เกิดการเรียนรู้นั่นเอง ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น ในการเรียนรู้ความจริงกลุ่มนี้ก็สนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดและปฏิกิริยาซึ่งเกิดขึ้นภายในเหมือนกัน แต่ว่ายากแก่การสังเกตและรู้สึกว่ามิใช่เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงสนใจเฉพาะสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น การที่กลุ่มนี้ให้ความสนใจกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในและปฏิกิริยาของผู้เรียนน้อยเพราะศึกษาทดลองโดยสัตว์ชั้นต่ำ เช่น หนู เป็นต้น ผู้นำที่สำคัญของกลุ่มนี้ เช่น พาพลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดค์ (Edward Thondike) และ สกินเนอร์ (B.F Skinner) พื้นฐานความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมคือสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม
3. ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitivism)
เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้เริ่มขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจาการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ
4. ทฤษฎีมนุษย์นิยม (Humanism)
ทฤษฎีมนุษยนิยมมีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ แต่ก็จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์ คือเป็นกระบวนการมากยิ่งขึ้น กลุ่มทฤษฎีมนุษยนิยมเป็นทฤษฎีที่คัดค้านการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์แล้วมาใช้อ้างอิงกับมนุษย์และปฏิเสธที่จะใช้คนเป็นเครื่องทดลองแทนสัตว์ นักทฤษฎีในกลุ่มนี้เห็นว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง มีอารมณ์และอิสรภาพในการกระทำ การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม การแสดงออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก บรรยากาศในการเรียนเป็นแบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่ช่วยเหลือให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในขบวนการเรียนของผู้เรียนโดยการจัดมวลประสบการณ์ เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎีมนุษย์นิยม คือ1. มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
2. มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง
3. การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ คือ การที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด หรือมโนทัศน์ของตนเอง
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น