แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา
1. การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยผู้เรียนจะเป็นผู้ทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกความรู้เป็นผลพลอยได้จากการทำกิจกรรมระหว่างทำกิจกรรมเด็กผู้เรียนก็จะต้องพัฒนาตนเองทางการคิดการปฏิบัติการแก้ปัญหาการทำงานร่วมกันการวางแผนการจัดการและเทคนิควิธีการต่างๆที่เรียกว่าเรียนรู้วิธีการหาความรู้
2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นกระบวนการหมายถึงการมีขั้นตอนต่างๆให้ผู้เรียนได้แสดงออกหรือปฏิบัติโดยใช้ร่างกายความคิดการพูดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์คือความรู้หลังจากทำกิจกรรมและมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคุณสมบัติทางความรู้ความคิดทักษะความสามารถทางการปฎิบัติตลอดทั้งเกิดเจตนาคติค่านิยมที่ดีงาม
นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 7) ได้สรุปประเด็นสาระสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หมายถึง การเรียนรู้มี่เป็นกระบวนการสร้างประสบการณ์และสิ่งต่างๆที่ให้ความหมายต่อตนเองจากการปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ประเด็นที่ 2 การเรียนรู้เรื่องของตนเองธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจของตนเองการรับรู้และตระหนักในตนเองสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมที่ดี
ประเด็นที่ 3 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ
3.1 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต หมายถึง การเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตที่สำคัญและจำเป็น
3.2 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพ หมายถึงการเรียนรู้เพื่อค้นพบและใช้ศักยภาพของตนเพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับตนเอง
ประเด็นที่ 4 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดการแก้ปัญหาโดยเน้นประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติ หมายถึงการใช้ทักษะการคิดเพื่อหาคำตอบในสถานการณ์ต่างๆ โดยอาศัยประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติจริง
ประเด็นที่ 5 การเรียนรู้โดยผสมผสานความรู้ คุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง การเรียนรู้ที่มุ่งให้มีความรู้ในศาสตร์ต่างๆควบคู่กับการพัฒนาตนเอง
ประเด็นที่ 6 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาประชาธิปไตย หมายถึง การเรียนรู้ในเรื่องสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคและการปฏิบัติตามหน้าที่ของตน
ประเด็นที่ 7 การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม หมายถึง การเรียนรู้เพื่อให้เกิดคววามรู้ ความเข้าใจตระหนักในความรู้ต่างๆที่คิดค้นและสั่งสมประสบการณ์ต่างๆโดยภูมิปัญญาไทย
ประเด็นที่ 8 การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ หมายถึง การศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปผลเพื่อแก้ไขปัญหา
ประเด็นที่ 9 การเรียนรู้โดยความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน หมายถึง การที่ครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษามีบทบาทร่วมกันในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ประเด็นที่ 10 การประเมินผลผู้เรียน หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินคุณภาพคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้เรียน
ประเด็นที่ 4 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดการแก้ปัญหาโดยเน้นประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติ หมายถึงการใช้ทักษะการคิดเพื่อหาคำตอบในสถานการณ์ต่างๆ โดยอาศัยประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติจริง
ประเด็นที่ 5 การเรียนรู้โดยผสมผสานความรู้ คุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง การเรียนรู้ที่มุ่งให้มีความรู้ในศาสตร์ต่างๆควบคู่กับการพัฒนาตนเอง
ประเด็นที่ 6 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาประชาธิปไตย หมายถึง การเรียนรู้ในเรื่องสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคและการปฏิบัติตามหน้าที่ของตน
ประเด็นที่ 7 การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม หมายถึง การเรียนรู้เพื่อให้เกิดคววามรู้ ความเข้าใจตระหนักในความรู้ต่างๆที่คิดค้นและสั่งสมประสบการณ์ต่างๆโดยภูมิปัญญาไทย
ประเด็นที่ 8 การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ หมายถึง การศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปผลเพื่อแก้ไขปัญหา
ประเด็นที่ 9 การเรียนรู้โดยความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน หมายถึง การที่ครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษามีบทบาทร่วมกันในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ประเด็นที่ 10 การประเมินผลผู้เรียน หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินคุณภาพคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้เรียน
การปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
คำว่า ผู้เรียนเป็นสำคัญ มาจากบทบัญญัติในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่บัญญัติไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเติมเต็มศักยภาพสำหรับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้เป็นหลักการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีการเรียนรู้หลายทฤษฎีเช่นพุทธะปรัชญาจิตวิทยาสาามนุษยนิยม (Humanistic Approach) ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น