วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

หลักการเรียนรู้/การวิจัยการเรียนรู้/ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้

หลักการเรียนรู้
         การเรียนการสอนเป็นการทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจต่อภาระงานเป็นการจูงใจผู้เรียนด้วยการอธิบายประโยชน์ของสัมฤทธิ์ผลตามจุดประสงค์ และโยงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ใหม่ ๆ เข้ากับการเรียนรู้เดิม
         การนำเสนอนี้จะมุ่งไปที่เหตุการณ์ระหว่างที่มีการนำสารสนเทศ ข้อความจริงมโนทัศน์ หลักการ หรือวิธีการไปสู่นักเรียน ข้อกำหนดการนำเสนอจะมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับแบบของการเรียนรู้ที่จะประสบผลสำเร็จและระดับพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอนของผู้เรียน
         การแนะนำบทเรียน
         การแนะนำบทเรียน กิจกรรมเริ่มแรกของกระบวนการสอนการเรียนรู้ คือ ทำให้ผู้ตั้งใจเรียนและเตรียมผู้เรียนไปสู่การฝึกปฏิบัติ ในการแนะนำบทเรียนควรอธิบายจุดประสงค์ของการเรียนการสอน พรรณนาประโยชน์ของการบรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์และโยงความสัมพันธ์สำหรับสิ่งที่ผู้เรียนรู้ใหม่กับความรู้เดิม
         การนำเสนอเนื้อหาใหม่
         การนำเสนอเนื้อหาใหม่เมื่อมีการเรียนรู้ใหม่ บทเรียนควรนำเสนอข้อความจริง มโนทัศน์ และกฎหรือพรรณนาสาธิตทักษะการนำเสนอเนื้อหาใหม่ ๆ ให้จดจำได้ง่ายควรนำเสนออย่างมีลำดับ มีแบบของโครงสร้างจะทำให้มีความหมายต่อผู้เรียนมาก การขจัดสารสนเทศแทรกซ้อนไม่เป็นที่ต้องการและขจัดเนื้อหาที่สับสนและไม่เกี่ยวข้องออกไปก่อผลดีของผู้เรียน
         การฝึกปฏิบัติ
         การฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้เป็นกระบวนการองการตื่นตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อผู้เรียนได้มีการผลิต มีการปฏิบัติ หรือมีการพยายามใช้มือกับภาระการงานที่ได้เรียนรู้การฝึกปฏิบัติเป็นส่วนผสมที่สำคัญที่สุดของการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยเร่งการเรียนรู้ช่วยให้จดจำได้นาน และให้ความสะดวกในการระลึกได้

การวิจัยการเรียนรู้

         การวิจัยการเรียนรู้ผู้ออกแบบการเรียนการสอนแบบเฝ้าดูงานวิจัยที่จะตัดสินใจว่าเงื่อนไขอะไรที่ทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับที่ตนเผชิญอยู่ นักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมใช้วิธีการในการศึกษาพฤติกรรมด้วยการสังเกตบุคคลในสถานที่ กรณีที่หลากหลายด้วยการตั้งคำถามลึก ๆ เกี่ยวกับประสบการณ์มีการสำรวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่จะตัดสินใจว่าประชาชนเหล่านั้นชอบหรือไม่ชอบ นักออกแบบสร้างและใช้แบบทดสอบสำหรับความสามารถและคุณลักษณะของคนจำนวนมาก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นการให้ผลต่อการศึกษาการเรียนรู้ คือ การทดลอง ซึ่งนักวิจัยระมัดระวังและควบคุมการศึกษาสาเหตุและผลที่ได้รับ

ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้

         การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวร เนื่องจากการฝึกปฏิบัติหรือประสบการณ์การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับ 3 ประการคือ ประการแรกความสามารถของผู้เรียน ประการที่สอง ระดับของแรงจูงใจ และประการสุดท้าย ธรรมชาติของภาระงานการเรียนรู้มีกระบวนการดังนี้ คือ  1. แรงจูงใจภายในทำให้ผู้เรียนรับความคิดง่าย 
                                         2. เป้าประสงค์ทำให้มีสำคัญได้ถึงความต้องการจำเป็นในสิ่งที่เรียน 
                                         3. ผู้เรียนเสาะหาวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ปัญญา 
                                         4. ผลของความก้าวหน้าจากการเลืิอกแก้ปัญหาที่ลดความตึงเครียด 
                                         5. การขจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
         ขอบเขตของการเรียนรู้สามประการ
                  บลูมและเพื่อนๆเป็นที่รู้จักกันดีในการแบ่งการเรียนรู้เป็นสามประเภท คือ 
                                          1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)(พฤติกรรมด้านสมอง)เป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา                                                         ความรู้ ความ  คิด ความเฉลียวฉลาด 
                                          2.จิตพิสัย (Affective Domain)( พฤติกรรมด้านจิตใจ) ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง                                                           ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม     
                                          3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท) พฤติกรรมที่บ่งถึง                                                   ความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ 
         องค์ประกอบการเรียนรู้ 
                  ประกอบด้วยสิ่งสำคัญห้าประการคือ 
                                          1.ผู้เรียน 
                                          2.บทเรียน 
                                          3.วิธีการเรียนรู้ 
                                          4.การถ่ายโยงการเรียนรู้ 
                                          5.องค์ประกอบต่างๆทั้งกายภาพและจิตใจ 
         องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ 
                  ได้แก่ องค์ประกอบด้านสติปัญญา และองค์ประกอบด้านที่ไม่ใช้สติปัญญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น