วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บทที่ 1

บทที่ 1
แนวคิดการออกแบบการเรียนการสอน
                                                       

การออกแบบคืออะไร?  
          การออกแบบเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ประสบการณ์ความรู้  และทักษะอย่างกว้างขวาง  เพื่อที่แสวงหาทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดภายในข้อจำกัดที่มีอยู่  การออกแบบเกี่ยวข้องการระบุปัญหา  และทำปัญหาให้กระจ่างประกอบไปด้วยการตอบสนองที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์  ตลอดจนการทดสอบแก้ไขปัญหานั้น  และปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหาแล้วเริ่มต้นออกแบบใหม่อีก  การออกแบบเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่บ่อยครั้งอาจใช้ความจริง หรือการแก้ปัญหาที่รู้ๆกันอยู่แล้ว แต่การที่รู้จักผนวกวิธีแก้ไขปัญหาหลายๆ วิธีเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะอย่างต้องอาศัยความคิดเชิงสร้างสรรค์ การออกแบบจึงเป็นสิ่งที่มากไปกว่าการแก้ปัญหาธรรมดาๆ 
 ทำไมต้องเปลี่ยนแปลงการออกแบบ? (why design change?)  
          มีเหตุผลหลากหลายว่า  ทำไมจึงต้องเปลี่ยนแปลงการออกแบบ  เหตุผลหนึ่งคือ  การเปลี่ยนแปลงความต้องการของสังคม เช่น ความต้องการในเรื่องของรถยนต์  ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนเป็นชอบรถเก๋งที่มีขนาดเล็กลงสิ่งเหล่านี้ทำให้ต้องออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ  ในขณะที่เมืองมีความแออัดมากขึ้น  รถยนต์ที่มีขนาดเล็กที่หาที่จอดได้ง่าย ในจุดนี้อาจจะแย้งด้วยว่า ผู้ออกแบบเป็นผู้สร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลง และสังคมตอบต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ เช่น แฟชั่นต่างๆ เหตุผลที่สองคือ การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ซึ่งสามารถประยุกต์เข้ากับผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมได้
การออกแบบมีผลกระทบต่อชีวิตอย่างไร?  
           โลกที่ปราศจากเครื่องคำนวณ  โทรศัพท์  รถไฟ  เครื่องบิน เครื่องป้องกันบ้าน  การโฆษณา  ไมโครเวฟ  เป็นโลกที่ยากแก่การจินตนาการ  เพราะว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้ประโยชน์มหาศาลแก่พวกเราประชาชนเพียงจำนวนเล็กน้อยที่ชอบทำอะไรโดยปราศจากผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบไว้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว การออกแบบโดยทั่วไปที่ประสบความสำเร็จต้องพิจารณาปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์  ขนาด  ราคา  สิ่งที่ปรากฏมา  และความปลอดภัย(Dunn, 1991 : 18) เป็นต้น ส่วนการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design)  เป็นกระบวนการของการป้องกันด้วยการวางแผนแก้ไขปัญหาก่อนการเรียนการสอน โดยการวิเคราะห์สถานการณ์  หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบสมรรถภาพที่ต้องการผู้ออกแบบการเรียนรู้การสอนคือพฤติกรรมที่มีบูรณาการ  และเกี่ยวข้องกับการกลั่นกรอง  การวิเคราะห์  การจัดการ  การสังเคราะห์  สารสนเทศ  และเนื่องจากความหลากหลายในทักษะต่างๆ
ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน
            ความต้องการจำเป็นในการออกแบบการเรียนการสอน คือ การแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพด้วยวิธีการเชิงระบบที่ให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาปัจเจกบุคคล และมนุษย์โดยทั่วไปและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร
นิยามการออกแบบการเรียนการสอน
            ริตา ริชชีย์(Rita Richey, 1986 : 9)  ได้นิยามการออกแบบการเรียนการสอนว่า หมายถึง วิทยาศาสตร์การสร้างสรรค์รายละเอียดที่ชี้เฉพาะเพื่อการพัฒนา  การประเมินผลและการบำรุงรักษาสถานการณ์  หรือเงื่อนไขที่อำนวยความสะดวกให้กับการเรียนรู้ในหน่วยของเนื้อหาวิชา(Unit of subject matter)  ทั้งหน่วยใหญ่และหน่วยย่อย  การนิยามของริชชีย์เป็นการให้ความกระจ่างกับความสัมพันธ์ของนักวิจัยซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอน แต่เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือบนพื้นฐานของความรู้ 
ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน
            การลงทุนที่ประสบความสำเร็จ หมายถึงการที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้ประโยชน์หากเปรียบเทียบกับการทำงานทางธุรกิจแล้ว ประโยชน์ย่อมหมายถึงกำไร เจ้าของกิจการได้กำไรลูกค้าพอใจ ในราคา คุณภาพ และการบริาการ คนงานและลูกจ้างได้รับค่าจ้างแรงงานที่เหมาะสม และมีความรู้สึกที่ดีต่อบริษัท ในทำนองเดียวกัน นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนย่อมได้ประโยชน์จากการเรียนการสอน ไม่มากก็น้อย ดังที่ ไชยยศ เรืองสุวรรณได้กล่าวว่า
         1.  ผู้บริหารหรือผู้จัดการโปรแกรมการศึกษาและการเรียนการสอนย่อต้องการความมั่นใจในประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้งบประมาณประหยัดที่สุด
        2.  นักออกแบบการสอน ย่อมต้องการความมั่นใจว่า โปรแกรมที่ออกแบบไว้เป็นโปรแกรมที่น่าพอใจ ซึ่งตัวบ่งชี้สำคัญในความพอใจก็คือผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาที่เหมาะสม
        3.  ครูผู้สอนย่อมต้องการที่จะเห็นผู้เรียนได้รับความรู้ ความสามารถอื่นๆ ที่จำเป็น รวมทั้งต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน
        4.  ผู้เรียนต้องการความสำเร็จในการเรียน ได้รับ ประสบการณ์การเรียนด้วยความสนุกสนานและพอใจ ( ไชยยศ, 2533 : 14 )
แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป

            ออกแบบการเรียนการสอนนำความรู้จากหลายสาขาวิชามาประยุกต์เข้าาด้วยกันเป็นขั้นตอนกระบวนการเชิงระบบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน  โดยพื้นฐานแล้ววิธีการเชิงระบกำหนดให้ต้องระบุว่า  จะเรียนอะไร  วางแผนการสอนว่าจะยอมให้การเรียนรู้อะไรเกิดขึ้น  วัดผลการเรียนรู้เพื่อตัดสินว่า  การเรียนรู้นั้นบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่  และกลั่นกรองตัวสอดแทรก(intervention) จนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์ จากลักษณะนี้เองจึงทำให้เกิดแบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป (Generic Instruction Design Model : ID model) ขึ้น
บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
            บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน(designer's role)   สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่นำเสนอว่าต้องอาศัยเทคนิค  หรือไม่ต้องอาศัยเทคนิค  และขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของทีมการออกแบบ  เนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคสูง  ผู้ออกแบบจำเป็นต้องให้คำแนะนำในการออกแบบกับผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา(content expert)  คือ
          1. ผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา  และมีสมรรถภาพในการออกแบบการเรียนการสอนและเทคโนโลยี อีกทั้งยังเป็นผู้ที่รู้บทบาทของการออกแบบด้วย
          2. ผู้ออกแบบการเรียนการสอน  ที่ได้รับการร้องขอให้ทำงานในด้านเนื้อหาที่อาจจะมีความคุ้นเคย  แต่ผู้ออกแบบยังคงมีความรู้สึกมีความจำเป็นที่จะทำงานกับผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา
          3. ผู้ออกแบบอาจจะได้รับการร้องขอให้พัฒนาหรือวิจัยในด้านเนื้อหาที่ไม่มีความคุ้นเคย  และดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือก  และทำงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจำนวนมาก
งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน
            งานของผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะหลากหลายในความต้องการด้านความรู้ความชำนาญ  ผลิตผลที่ได้และประสบการณ์ของงาน  ผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะวิเคราะห์ภาระงานภายใต้การนิเทศของผู้จัดการโครงการในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการพัฒนา
          - งานออกแบบ
               พิสัยของงาน(job)  เป็นไปตามสถานการณ์  และระดับที่แตกต่างกันของผู้ชำนาญการบางครั้งผู้ออกแบบการเรียนการสอนทำหน้าที่เหมือนเป็นผู้ชำนาญการในขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการ ในบางงานเรียกผู้ออกแบบว่าเป็นผู้ปฏิบัติที่มีสมรรถภาพในการดำเนินโครงการตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด พิสัยของงานไม่เพียงแค่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่มีความเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษแต่บางงานต้องการระดับความแตกต่งของผู้ชำนาญการ (expertise) 
          - ผลิตผลของการออกแบบ

                ไม่ว่าจะเป็นงานที่ตั้งสมมติฐานไว้  หรืองานในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายของผลิตผลก็ตาม  จะมีขอบเขตที่แตกต่างและซับซ้อน  งานการออกแบบการเรียนการสอนก็เช่นกัน ขอบเขตรวมถึงความแตกต่างของขนาดและเนื้อหาความซับซ้อนรวมถึงความแตกต่างของหลักสูตรหรือสื่อ ในระดับเล็กที่สุดของขอบเขต คือ แผนการสอน (lesson plans) หน่วยหรือชุดโมดุล (modules) ระดับต่อไปรวมถึงรายวิชา (courses) และหน่วย (unit) 
สมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
            การออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการทางเชาว์ปัญญา  ที่ต้องการทักษะความคิดในระดับสูง(Nelson, Macliaro and Shermen, 1998 : 29-35)  ในการปฏิบัติกิจกรรมนี้จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับทักษะ  และความถนัดตลอดจนการฝึกอบรมและการศึกษา วอลลิงตัน(Wallington, 1981 : 28-33)
             - ความถนัดของบุคคล
           การออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความถนัด(aptitude)  ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการคิดทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม
             - ประกาศนียบัตร

           เราจำเป็นต้องรู้ถึงสมรรถภาพของนักออกแบบการเรียนการสอนตามความต้องการ  เพื่อที่จะได้เพิ่มพูนสมรรถภาพเหล่านั้น  สมาคมเพื่อการปฏิบัติและการเรียนการสอนแห่งชาติ
สรุป
            ความรู้เบื้องต้นในการออกแบบการเรียนการสอน  ประกอบด้วยความต้องการจำเป็นสำหรับการเรียนการสอน  นิยามการออกแบบการเรียนการสอน  ประโยช์ของการออกแบบการเรียนการสอน  แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป  บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน  งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอนและสมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
     ความต้องการจำเป็นของการออกแบบการเรียนการสอน  หรือการแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่หลากหลาย  เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ  บรรลุจุดประสงค์ตามเตนารมณ์ของผู้สอน  และหลักสูตร

     การออกแบบการเรียนการสอน  หมายถึง  กระบวนการแก้ปัญหาการเรียนการสอน  โดยการวิเคราะห์สถานการณ์  หรือเงื่อนไขในการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ  แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดหมายโดยอาศัยความรู้จากหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้  ทฤษฎีการเรียนการสอน  ทฤษฎีการติดต่อสื่อสาร  ตลอดจนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น